วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เค้าโครงของโครงงาน
ชื่อโครงงาน : ศิลปะพื้นเมือง
ชื่อผู้จัดทำโครงงาน : นางสาวมยุรา               ทาดำ
อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน : ครูธนดล      คำเสมอ
                                                 ครูภานุพันธ์  ศรีวงศ์
ระยะเวลาดำเนินงาน  :  30 ตุลาคม-31 ธันวาคม  พ.ศ. 2556
ที่มา/ความสำคัญหรือแนวคิด
                การดำเนินชีวิตของคนเรานั้นต้องอยู่รวมกันเป็นสังคมและสังคมทุกสังคมก็จะมีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มาจากการดำเนินชีวิตในแต่ละยุคแต่ละสมัยซึ่งแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นแต่ละที่ ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นยังก่อให้เกิดศิลปะพื้นเมืองตามมาด้วย
                ศิลปะพื้นเมืองเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นแขนงหนึ่งที่สืบต่อกันมาช้านานและเพื่อให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นๆน่าสนใจ คนในชุมชนหรือท้องถิ่นก็จะดัดแปลงหรือประดับเพิ่มเติมให้สวยงาม น่าดูน่าชมแก่ผู้ที่พบเห็นด้วยเหตุนี้จึงส่งผลทำให้ภูมิปัญญากลายมาเป็นศิลปะและรวมอยู่แขนงเดียวกัน
                ศิลปะพื้นเมืองเป็นมรดกทางปัญญาที่มีค่าที่บรรพบุรุษสืบต่อกันมา เพื่อให้ศิลปะเหล่านั้นคงอยู่ ซึ่งเราทุกคนก็ควรเห็นคุณค่าและความสำคัญของศิลปะพื้นเมืองเหล่านั้น ช่วยกันอนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานรุ่นต่อๆไปได้รู้จัก และได้เข้าใจว่าสิ่งเหล่านั้นไว้ใช้ทำอะไร และเราทุกคนก็ควรปลูกฝังให้ลูกหลานมีจิตสำนึกรักศิลปะพื้นเมืองด้วย
                ดังนั้นข้าพเจ้าจึงคิดที่จะศึกษาประวัติความเป็นมาและประเภทของศิลปะพื้นเมืองของภาคต่างๆทั้ง 4 ภาคเพื่อให้ศิลปะพื้นเมืองต่างๆเหล่านั้นยังคงอยู่ และได้อนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานรุ่นต่อไปได้ศึกษาในกาลเวลาข้างหน้า

เป้าหมาย : ต้องการให้ประชากรในแต่ละภาคของประเทศไทยเห็นความสำคัญของศิลปะพื้นเมืองของภาคตนเองและ    ร่วมกันอนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานรุ่นต่อไปได้รู้จัก
วัตถุประสงค์ :     -  เพื่อบอกคุณค่าของศิลปะพื้นเมือง
                                -  เพื่อให้คนในแต่ละภาครู้จักศิลปะพื้นเมืองของตน
                                -  เพื่อให้ทุกคนเห็นความสำคัญและอนุรักษ์ศิลปะพื้นเมืองไว้               
หลักการและทฤษฎี   :        -  ศึกษารายละเอียดและข้อมูลต่างๆของเรื่องที่ศึกษา
-  ศึกษาข้อมูลจากหลายๆแหล่งเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง
-  ศึกษาจากเว็บไซต์ของกรมวิชาการ
- สอบถามจากผู้รู้ในชุมชน
วิธีดำเนินการ  :   วัสดุอุปกรณ์
                                                -  ปากกา หมึกลบคำผิด
                                                -  ดินสอ  ยางลบ
                                                -  หนังสือ  สมุดจดบันทึก  กระดาษ
                                                -  คอมพิวเตอร์  อินเทอร์เน็ต
                                ขั้นตอนการดำเนินงาน
                                                1.ศึกษาและเลือกเรื่องที่สนใจ
                                                2.วางแผนการทำงาน วางโครงเรื่องที่จะศึกษา
                                                3.ลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
                                                4.สรุปผลการศึกษา
                                                5.นำเสนอผลงาน
                                งบประมาณการใช้จ่าย :   ประมาณ  350  บาท

ตารางปฏิบัติงาน
วันที่
การปฏิบัติงาน
25 ตุลาคม  พ.ศ. 2556
- เลือกเรื่องที่สนใจ
- วางโครงเรื่องเรื่องที่สนใจศึกษา
26  ต.ค. – 3 พ.ย.   พ.ศ.  2556
ค้นคว้าและสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
4 – 10 พ.ย.  พ.ศ. 2556
สอบถามผู้รู้เกี่ยวกับข้อมูลที่ศึกษา
11 พ.ย. - 15 ธ.ค. พ.ศ.  2556
รวบรวมข้อมูลและจัดทำรูปเล่ม
16-20  ธ.ค.  พ.ศ.  2556
ตรวจสอบความถูกต้องของรูปเล่ม
21-30 ธ.ค.  พ.ศ. 2556
แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง
31 ธ.ค.  พ.ศ.  2556
นำเสนอผลงาน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ  :  1.ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาจะช่วยให้ทุกคนเห็นคุณค่าและร่วมกันอนุรักษ์ไว้
                                          2.ข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์แก่คนรุ่นหลังต่อไป
เอกสารอ้างอิง      :  สมหวัง   คงประยูร(-----------)ศิลปะพื้นบ้าน  เชียงใหม่  :โรงพิมพ์ส่งเสริมธุรกิจ
                                  วิทย์  พิณคันเงิน(2517) ศิลปกรรมและการช่างของไทย กทม :สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์
                                www.wikipedia.org
  

บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญของปัญหา
การดำเนินชีวิตของคนเรานั้นต้องอยู่รวมกันเป็นสังคมและสังคมทุกสังคมก็จะมีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มาจากการดำเนินชีวิตในแต่ละยุคแต่ละสมัยซึ่งแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นแต่ละที่ ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นยังก่อให้เกิดศิลปะพื้นเมืองตามมาด้วย
                ศิลปะพื้นเมืองเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นแขนงหนึ่งที่สืบต่อกันมาช้านานและเพื่อให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นๆน่าสนใจ คนในชุมชนหรือท้องถิ่นก็จะดัดแปลงหรือประดับเพิ่มเติมให้สวยงาม น่าดูน่าชมแก่ผู้ที่พบเห็นด้วยเหตุนี้จึงส่งผลทำให้ภูมิปัญญากลายมาเป็นศิลปะและรวมอยู่แขนงเดียวกัน
                ศิลปะพื้นเมืองเป็นมรดกทางปัญญาที่มีค่าที่บรรพบุรุษสืบต่อกันมา เพื่อให้ศิลปะเหล่านั้นคงอยู่ ซึ่งเราทุกคนก็ควรเห็นคุณค่าและความสำคัญของศิลปะพื้นเมืองเหล่านั้น ช่วยกันอนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานรุ่นต่อๆไปได้รู้จัก และได้เข้าใจว่าสิ่งเหล่านั้นไว้ใช้ทำอะไร และเราทุกคนก็ควรปลูกฝังให้ลูกหลานมีจิตสำนึกรักศิลปะพื้นเมืองด้วย
                ดังนั้นข้าพเจ้าจึงคิดที่จะศึกษาประวัติความเป็นมาและประเภทของศิลปะพื้นเมืองของภาคต่างๆทั้ง 4 ภาคเพื่อให้ศิลปะพื้นเมืองต่างๆเหล่านั้นยังคงอยู่ และได้อนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานรุ่นต่อไปได้ศึกษาในกาลเวลาข้างหน้า
วัตถุประสงค์
-  เพื่อบอกคุณค่าของศิลปะพื้นเมือง
                -  เพื่อให้คนในแต่ละภาครู้จักศิลปะพื้นเมืองของตน
                -  เพื่อให้ทุกคนเห็นความสำคัญและอนุรักษ์ศิลปะพื้นเมืองไว้



ขอบเขตการศึกษา
                ศึกษาศิลปะพื้นเมืองหลักๆทั้ง 4 ภาคของไทย
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
                1.ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาจะช่วยให้ทุกคนเห็นคุณค่าและร่วมกันอนุรักษ์ไว้
2.ข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์แก่คนรุ่นหลังต่อไป
นิยามศัพท์เฉพาะ
ศิลปะพื้นเมือง (Folk) หมายถึงศิลปะที่มีความงามความเรียบง่ายจากฝีมือของชาวบ้านทั่วๆไปสร้างสรรค์ผลงานอันมีคุณค่าทางด้านความงามและประโยชน์ใช้สอยตามสภาพของท้องถิ่น


บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
การทำโครงงานเรื่อง ศิลปะพื้นเมืองผู้จัดทำได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องดังนี้
1.ศิลปะพื้นบ้าน
1.1ลักษณะของศิลปะพื้นบ้าน
 ศิลปะพื้นบ้าน (Folk) หมายถึงศิลปะที่มีความงามความเรียบง่ายจากฝีมือของชาวบ้านทั่วๆไปสร้างสรรค์ผลงานอันมีคุณค่าทางด้านความงามและประโยชน์ใช้สอยตามสภาพของท้องถิ่น ท่านศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีได้กล่าวว่า หมายถึง ศิลปะชาวบ้านเช่น การร้องรำทำเพลง การวาดเขียนและอื่นๆ ซึ่งมีกำเนิดมาจากชีวิตจิตใจของประชาชนศิลปะชาวบ้านหรือศิลปะพื้นบ้านส่วนใหญ่จะเกิดควบคู่กับการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน ภายใต้อิทธิพลของชีวิตความเป็นอยู่ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อและความจำเป็นของสภาพท้องถิ่น เพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวันโดยทั่วไปแล้วศิลปะพื้นบ้านจะเรียกรวมกับหัตถกรรมเป็นศิลปหัตถกรรมซึ่งศิลปหัตถกรรมนั้นเกิดจากฝีมือของคนในท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งการประดิษฐ์สร้างสรรค์เป็นไปตามเทคนิคและรูปแบบที่ถ่ายทอดกันในครอบครัวโดยตรงจากพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยายโดยจุดประสงค์หลักคือทำขึ้นเพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวันงานศิลปหัตถกรรมได้ถ่ายเทและมีอิทธิพลแก่กันและกันเช่นเดี่ยวกับคติพื้นบ้านแล้วปรับปรุงให้เข้ากบสภาพของท้องถิ่นจนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเองศิลปะพื้นบ้านจะประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้                1. เป็นผลงานของช่างนิรนามทำขึ้นเพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวันของประชาชนความงามที่ปรากฏมิได้เกิดจากความประสงค์ส่วนตัวของช่างเพื่อแสดงออกทางศิลปะแต่มาจากความพยายามของช่างที่ฝึกฝนและผลิตงานนั้นสืบต่อมาหลายชั่วอายุคน
               
2. เป็นผลงานที่มีรูปแบบที่เรียบง่ายมีความงามอันเกิดจากวัสดุจากธรรมชาติ และผ่านการใช้สอยมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
               
3. ผลิตขึ้นเป็นจำนวนมาก ขายกันราคาปกติ ความงดงามเกิดจากการฝึกฝนและการทำซ้ำๆ  กัน
               
4. มีความเป็นธรรมชาติปรากฏอยู่มากกว่าความสละสลวยเนื่องจากศิลปินพื้นบ้านสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเพื่อชาวบ้าน ซึ่งมีความงดงามอย่างธรรมชาติ
               
 5. แสดงลักษณะพิเศษเฉพาะถิ่นหรือเอกลักษณ์ของถิ่นกำเนิด
               
6. เป็นผลงานที่ทำขึ้นด้วยมือเป็นส่วนมาก
คำอธิบาย: http://www.trangis.com/somjaiart/images/e4131.jpg
 
               
1.2 ประเภทของศิลปะพื้นบ้าน
      งานศิลปะพื้นบ้านของไทยเรามีปรากฏตามท้องถิ่นต่างๆ  อยู่มากมายหลายประเภท สามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ   ได้ดังนี้
                1. เครื่องเคลือบดินเผา (Ceramics) คือภาชนะที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ที่ทำจากดินเผาและดินที่เผาแล้วนำไปเผาเคลือบด้วยน้ำยาเคลือบซึ่งทำกันอยู่ทั่วไปเกือบทุกภาคของประเทศไทยเราจะแสดงลักษณะของท้องถิ่นและความนิยมของแต่ละที่ด้วย เช่น โอ่งมังกรที่จังหวัดราชบุรี เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน ที่จังหวัดนครราชสีมาเป็นต้น 

                 2. การทอผ้า และการเย็บปักถักร้อย (Textile and Embroidery) การทอผ้าตามท้องถิ่นต่างๆ เช่นผ้าทอเกาะยอ ของจังหวัดสงขลา ผ้าทอพุมเรียงของจังหวัดสุราษฏร์ธานี การทอธง หรือตุงของภาคเหนือและภาคอีสาน เป็นต้น
คำอธิบาย: http://www.trangis.com/somjaiart/images/e41323.jpg
                3. การแกะสลัก (Carving) คือการแกะสลักเพื่อใช้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆด้วยวัสดุของท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น การแกะสลักไม้เพื่อทำ เครื่องเรือนตกแต่งอาคารของภาคเหนือ การแกะสลักหนังตะลุงของภาคใต้ เป็นต้น
คำอธิบาย: http://www.trangis.com/somjaiart/images/e41324.jpg

               
4. งานเครื่องโลหะ (Metal works) คืองานที่ทำขึ้นด้วยโลหะ เป็นพวกเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่นการทำเครื่องเงิน เครื่องทอง ที่จังหวัดเชียงใหม่ การทำบาตรพระที่บ้านบาตรกรุงเทพมหานคร การทำมีดอรัญญิก ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น
คำอธิบาย: http://www.trangis.com/somjaiart/images/silver.jpg
                5. งานเครื่องจักสาน (Basketry mat) คืองานที่ทำด้วยวิธี จักสาน และถักเป็นภาชนะเครื่องใช้ต่างๆใช้วัสดุจำพวกไม้ไผ่ หวาย กก เชือก ปอ ป่าน ใบลาน เป็นต้นงานจักสานมีทำกันทั่วทุกภาคของ ประเทศไทยเพื่อใช้เป็นเครื่องใช้ในการดำรงชีพของทุกชุมชน
คำอธิบาย: http://www.trangis.com/somjaiart/images/4132.gif
                 6. การก่อสร้าง (Architectures) คืองานสถาปัตยกรรมของพื้นบ้าน ได้แก่ อาคารบ้านเรือนและอาคารทางพุทธศาสนาซึ่งจะสร้างเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่นต่างๆ เช่นเรือนเครื่องสับ เป็นเรือนไทย ภาคกลาง เรือนแบบกาแลของภาคเหนือเรือนแบบเสาลอยของภาคใต้ เรือนแบบปั้นลมของภาคอีสานและการก่อสร้างอาคารสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น โบสถ์ วิหาร เป็นต้น
คำอธิบาย: http://www.trangis.com/somjaiart/images/vihar.jpg
               
7. การเขียนภาพระบายสีและวาดเส้น (Painting and Drawing) งานเขียนภาพระบายสี ภาพลายเส้นส่วนมากเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาได้แก่ ภาพพระบฏ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ภาพในสมุดข่อยตลอดจนการเขียนลวดลายลงบนภาชนะ เครื่องใช้ต่างๆที่แสดงออกเป็นลักษณะเฉพาะแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาพจิตกรรมฝาผนัง โบสถ์วิหาร ศาลา การเปรียญของภาคกลางการตกแต่งเรือกอและของภาคใต้การตกแต่งเกวียนหรือระแทะของภาคเหนือ เป็นต้น
คำอธิบาย: http://www.trangis.com/somjaiart/images/4133.gif
8. งานประติมากรรม (Sculpture) คือ การปั้นรูปเคารพต่างๆ เช่น การปั้นพระพุทธรูป และการปั้นลวดลายต่างๆเพื่อประดับอาคารทางพระพุทธศาสนา
คำอธิบาย: http://www.trangis.com/somjaiart/images/e41333.jpg
              9. งานเครื่องกระดาษบางชนิด (Paper mache) คืองานที่ประกอบขึ้นจากกระดาษที่ได้มาจากวัสดุพื้นบ้าน เช่นการทำกระดาษสาของภาคเหนือ งานกระดาษที่ใช้ประดับตกแต่งในเทศกาลต่างๆได้แก่ การตัดกระดาษพันธงรั้ว พวงมาลัย ดอกไม้ต่างๆ ได้แก่การตัดกระดาษพันธงรั้ว พวงมาลัย ดอกไม้ต่างๆ   การทำหัวโขนและหน้ากากต่างๆ เป็นต้น
2.คุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย
                2.1ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญา
                ภูมิปัญญาในศิลปะพื้นบ้าน มีพื้นฐานที่เกิดจากการผลิตที่ทำขึ้นด้วยมือซึ่งทำขึ้นเพื่อใช้สอยจึงนับได้ว่ากำเนิดมาพร้อมกับวิวัฒนาการของมนุษย์ได้คิดค้นวิธีการสร้างเครื่องมือ เครื่องใช้เพื่อช่วยให้เกิดความสะดวกสบายต่อการดำรงชีพมาโดยตลอด เช่น เครื่องมือหินเครื่องปั้นดินเผาสมัยโบราณที่ขุดพบ จึงนับได้ว่าการกำเนิดศิลปหัตถกรรมมีอยู่ทั่วไป และพัฒนามาตั้งแต่โบราณแล้ว

      ในสมัยก่อนนั้นลักษณะของสังคมชาวไทยเป็นสังคมแบบชาวนา หรือเรียกกันว่าสังคมเกษตรกรรม อันเป็นสังคมที่ต้องพึ่งตนเองมีพร้อมทุกด้านในเรื่องของปัจจัยสี่อยู่ในกลุ่มชนนั้นๆ  มีการสร้างการผลิตเครื่องใช้และอุปกรณ์ต่างๆ  เพื่ออำนวยความสุขความสะดวกสบายในการดำรงชีวิตของตนเอง
2.2 สาเหตุการกำเนิดศิลปะพื้นบ้านมีอยู่ด้วยกัน 3 ประการ      1.เกิดจากความจำเป็นในการดำรงชีวิตเพื่อต้องการความสะดวกสบายในการประกอบกิจกรรมต่างๆ  เช่น
            - การทำเครื่องปั้นดินเผา เพื่อใช้เป็นภาชนะหุงต้ม ประกอบอาหาร
            - การทำเครื่องมือเครื่องใช้ เพื่อการล่าสัตว์ การประกอบอาชีพ
      
2.เกิดจากสภาพของภูมิศาสตร์ และสิ่งแวดล้อมเนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อมของแต่ละท้องถิ่นความแตกต่างกันออกไปเช่น การปลูกสร้างที่อยู่อาศัยบ้านที่อยู่ใกล้แม่น้ำอยู่ในที่ต่ำก็จะมีใต้ถุนสูง ส่วนบ้านที่อยู่บนเนินเขาใต้ถุนสูงไม่มากนักหรืออาจเป็นบ้านชั้นเดียว เป็นต้น
      
3. เกิดจากสภาพของขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อ และศาสนาการสร้างศิลปะพื้นบ้านเกิดขึ้นตามสภาพของขนบธรรมเนียมประเพณีทางความเชื่อและศาสนาที่คนในชุมชนนั้นนับถืออาจจะมีความเชื่อและศาสนาที่คนในชุมชนนั้นนับถือ อาจจะมีความเชื่อเรื่องผีไสยศาสตร์ต่างๆ  จะเห็นได้จากการทำธงหรือตุงของภาคเหนือและภาคอีสานซึ่งสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน
2.3 คุณค่าและการสร้างสรรค์งานศิลปะภูมิปัญญาไทย
ศิลปะพื้นบ้านเป็นงานที่มีคุณค่าต่อคนไทยตั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบันซึ่งพอจะสรุปคุณค่าได้ดังต่อไปนี้
      1.คุณค่าทางการใช้สอย  (Functional Value) ศิลปะพื้นบ้านสร้างขึ้นเพื่อใช้สอยมีการแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสมต่อการใช้สอยมาโดยตลอดมีความผูกพันกับชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์เป็นอย่างมาก
      2.  คุณค่าทางความงาม (Aesthetic Value) ศิลปะพื้นบ้านโดยส่วนรวมจะสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ทางด้านใช้สอยเป็นหลักต่อมาเมื่อผู้สร้างมีความชำนาญ มีประสบการณ์มากขึ้นจึงได้เพิ่มคุณค่าในเรื่องของความงามเข้าไปอีก เป็นคุณค่าทางสุนทรียภาพในเรื่องของรูปทรง โครงสร้าง ลวดลายและวัสดุเข้าประกอบในความนั้นด้วย
       3.  คุณค่าทางด้านการแสดงออกของศิลปะ และทางอารมณ์ (Art Expression & Temperamental Expression) เป็นการแสดงออกของผลงานศิลปะพื้นบ้านซึ่งปรากฏออกมาตามลักษณะนามธรรมและรูปทรงโครงสร้าง ลวดลาย วัสดุ
      
4.  คุณค่าอันเกิดจากลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น (Local Characteristics) การสร้างศิลปะพื้นบ้านของแต่ละท้องถิ่นโดยส่วนมากแล้วจะเลือกใช้วิธีการวัสดุ ให้สะดวกกับการใช้สอย ผสมกับความเชื่อทางด้านต่างๆ ของท้องถิ่นนั้นๆโดยจะสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะของการดำรงชีวิตของท้องถิ่นวัฒนธรรมสภาพทางภูมิศาสตร์ศิลปะพื้นบ้านไม่ควรขาดคุณค่าอันเกิดจากลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น เพราะจะทำให้ขาดความน่าสนใจและหมดคุณค่าในที่สุด
3.ศิลปะพื้นบ้านของภาคกลาง
      ภาคกลางมีการสร้างเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิตที่เป็นศิลปะพื้นบ้านจำนวนมากลักษณะและแหล่งผลิตศิลปะพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงและมีคุณค่าควรแก่การศึกษาเช่น
      1. เครื่องจักรสานที่ตำบลบางเจ้าฉ่า อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง
      2. การสานงอบที่อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
      3. การสานปลาตะเพียนใบลานที่อำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
      4. การทำมีดอรัญญิกที่อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
      5. การทำเครื่องเคลือบดินเผาที่เรียกว่า โอ่งมังกรจังหวัดราชบุรี     
      6. การทำขลุ่ยที่บางไส้ไก่ แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพฯ
      7. การทำบาตรพระที่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ
      8. การปั้น การหล่อที่แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ
คำอธิบาย: http://www.trangis.com/somjaiart/images/gob.jpg
            
คำอธิบาย: http://www.trangis.com/somjaiart/images/kuuu.jpg
งอบที่ทำจากใบของต้นตาล
ขลุ่ย

4.ศิลปะพื้นบ้านของภาคอีสาน
      ภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีศิลปะพื้นบ้านประเภทต่างๆ  ที่มีคุณค่าแก่การศึกษา ได้แก่
- เครื่องจักสาน
      เครื่องจักสานที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ของภาคอีสานเช่น
      1. ก่องข้าวขวัญ  คือภาชนะใช้ใส่ข้าวในพิธีขวัญนาหรือนำข้าวขึ้นยุ้งฉาง เพื่อบูชาแม่โพสพมีลักษณะคล้ายกระติบข้าว แต่สูงชะลูดกว่า
      2. ตุ้มกบ คือเครื่องมือดักกบ สานด้วยไม้ไผ่ มีงาใช้เหยื่อล่อไว้ข้างใน
      3. ตุ้มลาน คือเครื่องมือดักปลาบริเวณน้ำตื้นๆ
      4. กระจาด คือภาชนะใส่ของต่างๆ

- เครื่องปั้นดินเผา
      จากหลักฐานทางด้านโบราณคดีพบว่าภาคอีสานเคยเป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาตั้งแต่อดีตกาลมาจนถึงปัจจุบัน เครื่องปั้นดินเผาที่มีชื่อเสียงของภาคอีสาน เช่นเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน จังหวัดนครราชสีมา  เป็นต้น
- การทอผ้าพื้นเมือง
      การทอผ้าพื้นเมืองของภาคอีสานมีการทำกันมาแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบันผ้าทอของชาวอีสานมีการทอทั้งผ้าฝ้ายและผ้าไหมซึ่งแสดงถึงเอกลักษณ์ของท้องถิ่นและเรียกแตกต่างกัน ดังนี้
      1. ผ้าขิด เป็นผ้าทอลวดลายต่างๆด้วยการซ้อนสอดสานเป็นลวดลายมีความละเอียดประณีตมากชาวอีสานถือว่าผ้าขิดเป็นของสูงบใช้แต่งกายเฉพาะส่วนบนของร่างกายเหนือเอวขึ้นไปหรือใช้ทำหมอน
      2. ผ้ามัดหมี่เป็นผ้าไหม ลวดลายเกิดจากการย้อมเส้นไหมแล้วทอการย้อมไหมใช้วิธีการผูกหรือมัดเป็นลวดลายที่สวยงาม
      3. ผ้าตีนจก เป็นผ้าที่ใช้การทอสลับกับการปักลวดลายหรือควักเส้นไมขึ้นมาเรียกว่า จกมีหน้าแคบเพื่อใช้ต่อเข้ากับตัวซิ่นหรือผ้าถุงเพื่อตกแต่งให้ผ้าสวยงาม
- งานโลหะ
      เป็นงานที่ทำสืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ปัจจุบันชาวอีสานนำโลหะมาใช้ประโยชน์ทางการทำเครื่องมือเครื่องใช้ เช่นมีด ขวาน จอบ เป็นต้น
5.ศิลปะพื้นบ้านของภาคเหนือ
        ศิลปะพื้นบ้านของภาคเหนือของไทยที่มีคุณค่าควรแก่การศึกษาประเภทต่างๆ  ได้แก่
 - การทำเครื่องปั้นดินเผา
        ภาคเหนือเคยมีการทำเครื่องปั้นดินเผามาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในปัจจุบันมีการทำเครื่องปั้นดินเผากันอยู่ทั่วไปด้วยวิธีการที่พัฒนาขึ้นมีทั้งทำเพื่อใช้เป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ได้แก่กระเบื้องประดับผนังและภาชนะต่างๆ
 - เครื่องไม้แกะสลัก
        การแกะสลักไม้เป็นศิลปะพื้นบ้านของภาคเหนือที่ทำกันมาแต่โบราณโดยแกะเป็นรูปช้างและรูปสัตว์อื่นๆ  เช่น กวาง วัว เป็นต้นเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ  และนำมาใช้ตกแต่งอาคารบ้านเรือนนอกจากนี้ยังมีการแกะสลักประกอบเครื่องเรือน ซึ่งเป็นที่นิยมกันโดยทั่วไป
คำอธิบาย: http://www.trangis.com/somjaiart/images/4251.jpg
-  งานจักสาน
        ศิลปะพื้นบ้านประเภทเครื่องจักสานขของชาวไทยภาคเหนือมีการทำมาตั้งแต่อดีตกาลส่วนมากใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุสำคัญใช้จักสานเครื่องใช้สอยต่างๆ  เช่น
        1. กล่องข้าว หรือก่องข้าว คือ ภาชนะใส่ข้าวเหนียว
        2. แอบข้าว หรือแอ้บข้าว คือ ภาชนะใส่ข้าวเหนียว ขนาดเล็ก เพื่อพกพาไปทำงานนอกบ้าน
        3. ซ้าลอม หรือ ชะลอมคือ ภาชนะสำหรับใส่ของจำพวกผลไม้ สำหรับใช้ในการเดินทาง
        4. น้ำถุ้ง หรือ น้ำทุ่ง คือ ภาชนะทำด้วยไม้ไผ่ยกชั้นคล้ายกรวยหวาย มีหู ทำด้วยไม้เพื่อตักน้ำขึ้นจากบ่อน้ำ
6.ศิลปะพื้นบ้านของภาคใต้         ศิลปะพื้นบ้านของภาคใต้ประเภทต่างๆ  ที่มีลักษณะเฉพาะท้องถิ่นและมีคุณค่าควรแก่การศึกษา ได้แก่
 - เครื่องจักสาน
        ทำขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอย สนองความจำเป็นในการดำรงชีวิตมีลักษณะเฉพาะท้องถิ่นที่เด่นชัด มีความประณีตงดงาม เช่น
        1. กระด้ง หรือ ด้ง มี 2 ชนิด คือ กระด้งฝัดข้าวและกระด้งมอญ สานด้วยไผ่และหวาย
        2. โคล่ คือภาชนะใส่หรือตักน้ำ คล้ายกับครุ สานด้วยไผ่ ยาด้วยชัน ฐานทำด้วยไม้จริง
        3. เครื่องจักสานด้วยกระจูดซึ่งเป็นพืชชนิดหนึ่งคล้ายกับกก มีลำต้นกลม ใช้ทอเสื่อ
        4. เครื่องจักสานด้วยลำเจียก หรือ ปาหนัน เป็นต้นไม้ประเภทใบเตยใบคล้ายสับปะรด ก่อนนำมาสานต้องกรีดเอาหนามขอบใบออกนำไปย่างไฟแล้วแช่น้ำไว้ จะเป็นเส้นคล้ายตอก จึงนำมาสานได้
- การทอผ้าพื้นบ้าน
         การทอผ้าพื้นบ้านของภาคใต้มีดังนี้
        1. ผ้ายกเมืองนครเป็นผ้าพื้นเมืองเก่าแก่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีชื่อเสียง และงดงามมาก
        2. ผ้าพุมเรียงเมืองไชยาเป็นผ้าทอของจังหวัดสุราษฏร์ธานี มีเอกลักษณ์การทอผ้าของตนเอง
        3. ผ้าทอบ้านนาหมื่นศรีเป็นผ้าทอของจังหวัดตรัง มีการทอผ้าสืบต่อกันมาเป็นร้อยๆ ปี

- การทำหนังตะลุง
        หนังตะลุงเป็นมหรสพพื้นบ้านของภาคใต้มีมานับร้อยๆปี แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
                1.หนังธรรมดา คือ หนังที่ทำมาจากหนังวัวและหนังควาย ยังไม่ผ่านการฟอก
                2.หนังแก้ว คือ หนังที่ผ่านการฟอกแล้ว
คำอธิบาย: http://www.trangis.com/somjaiart/images/teng.jpg
-เครื่องจักรสานย่านลิเภา
         ย่านลิเภาเป็นพืชประเภทเถาวัลย์ มีลักษณะลำต้นกลมขนาดประมาณก้านไม้ขีดไฟยาวราว 2-3 เมตร ใช้สานกระเชอ กระเป๋าถือ เป็นต้น เป็นงานฝีมือชั้นสูงที่มีความประณีตงดงาม


บทที่ 3
 
อุปกรณ์และวิธีการทดลอง
วัสดุ/อุปกรณ์
1.ปากกา
2.หมึกลบคำผิด
3.ดินสอ 
4.ยางลบ
5.หนังสือ
 
6. สมุดจดบันทึก 
7.กระดาษ
8.คอมพิวเตอร์
9. อินเทอร์เน็ต
การดำเนินการทดลอง
                ผู้จัดทำได้ดำเนินงานโดยการทำตามแผนที่วางไว้หรือตารางปฏิบัติงานดังต่อไปนี้
วันที่
การปฏิบัติงาน
25 ตุลาคม  พ.ศ. 2556
- เลือกเรื่องที่สนใจ
- วางโครงเรื่องเรื่องที่สนใจศึกษา
26  ต.ค. – 3 พ.ย.   พ.ศ.  2556
ค้นคว้าและสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
4 – 10 พ.ย.  พ.ศ. 2556
สอบถามผู้รู้เกี่ยวกับข้อมูลที่ศึกษา
11 พ.ย. - 15 ธ.ค. พ.ศ.  2556
รวบรวมข้อมูลและจัดทำรูปเล่ม
16-20  ธ.ค.  พ.ศ.  2556
ตรวจสอบความถูกต้องของรูปเล่ม
21-30 ธ.ค.  พ.ศ. 2556
แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง
31 ธ.ค.  พ.ศ.  2556
นำเสนอผลงาน


                                                                 














        






               





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น